มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
01 ต.ค. 2562 //= substr($strYear,2,2)?>
บทความนี้เป็นบทสัมภาษณ์พิเศษของ ดร. รุจ เอกะวิภาต อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกี่ยวกับการนำ Amazon Web Services (AWS) เข้ามาใช้สนับสนุนการทำงานวิจัยของภาควิชา และนำไปใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับนิสิต รวมไปถึงสาเหตุว่าทำไมถึงเลือกใช้การสนับสนุนจาก True Internet Data Center (True IDC)
ภาพรวมของภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นหนึ่งในภาควิชาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้มีการจัดตั้งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2535 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาควิชามีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่และความต้องการของภาคเอกชนอยู่เสมอ และมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านวิชาการ งานวิจัย และประสบการณ์การทำงานจริงผ่านรายวิชาสหกิจศึกษา รวมไปถึงการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และให้บริการวิชาการแก่สังคม
ในส่วนการเรียนการสอน ขณะนี้ภาควิชาเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทในหลายสาขาวิชา เช่น Internet of Things, Machine Learning, Image Processing, Graphics, Networks and Security และ Software Engineering และในปีการศึกษา 2560 นี้ภาควิชาจะเปิดสอนเกี่ยวกับ Data Science ด้วย หลักสูตรปริญญาโทของภาควิชามีทั้งเรียนในเวลาราชการซึ่งเน้นการทำวิจัย และเรียนนอกเวลาราชการเพื่อให้นิสิตสามารถทำงานและศึกษาหาความรู้ไปพร้อมกันได้
ปัญหาและอุปสรรคของภาควิชาฯ
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาได้สนับสนุนการทำวิจัยของอาจารย์และนิสิตด้วยดีตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณสำหรับงานวิจัย รวมไปถึงทรัพยากรต่างๆ ที่อาจารย์และนิสิตสามารถนำไปใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาและอุปสรรคสำคัญของการจัดเตรียมทรัพยากรเพื่อความพร้อมในการทำงานวิจัย คือ การประเมินทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ในช่วงเริ่มต้นทำการวิจัย ไม่ว่าจะเป็น จำนวนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และชนิดของอุปกรณ์ระบบเครือข่ายนั้นทำได้ยาก การจัดซื้อจำเป็นต้องเลือกอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่จะครอบคลุมความต้องการในอนาคตเพื่อป้องกันทรัพยากรไม่เพียงพอ ถึงแม้ว่าทางมหาวิทยาลัยจะมีระบบ Cloud ให้บริการฟรีสำหรับคณะและภาควิชา แต่การจองทรัพยากรบนระบบ Cloud โดยไม่ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่นั้น ก็เหมือนเป็นการเอาเปรียบกลุ่มวิจัยอื่นที่ต้องการใช้ทรัพยากรด้วยเช่นกัน
ความต้องการของภาควิชาฯ
เนื่องจากไม่สามารถกำหนดความต้องการและปริมาณในการใช้งานทรัพยาการในการทำงานวิจัยได้อย่างชัดเจน และจำเป็นต้องปรับเพิ่มลดทรัพยากรที่ใช้ให้เหมาะสำหรับการทดลองต่างๆ ในช่วงเริ่มโครงการวิจัย จึงทำให้ภาควิชาต้องการโซลูชันระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่สามารถจัดสรรทรัพยากรและปรับแต่งการใช้งานได้อย่างรวดเร็วและอิสระ เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมไปถึงสามารถประเมินการใช้ทรัพยากรได้อย่างเที่ยงตรง บริการ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) จึงเป็นโซลูชันที่ตรงกับความต้องการของโครงการวิจัยมากที่สุด
“การเริ่มทำงานวิจัยใหม่ๆ บางกรณีเราไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าจะต้องใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เท่าไหร่ อาจต้องมีการปรับขึ้นปรับลงให้เหมาะสมกับงานที่เราทำ จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำเรื่องขอใช้ทรัพยากรจากทางมหาวิทยาลัยหรือรัฐบาลในปริมาณที่เหมาะสม เราต้องการการจัดสรรทรัพยากรที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับแต่งการใช้งานได้อย่างรวดเร็วภายใต้การคิดค่าบริการที่เหมาะสมอีกด้วย” — ดร. รุจ ระบุถึงปัญหาและความต้องการของการทำงานวิจัย"
- ดร. รุจ ระบุถึงปัญหาและความต้องการของการทำงานวิจัย
Amazon Web Services เข้ามาช่วยเหลือการทำงานวิจัยและการเรียนการสอนของนิสิตในภาควิชาฯ ได้อย่างไร
ภาควิชาตัดสินใจใช้ AWS เข้ามาสนับสนุนการทำวิจัยของอาจารย์และการเรียนการสอนของนิสิต เนื่องจาก AWS เป็นระบบ Cloud สาธารณะที่ให้บริการตั้งแต่ Infrastructure-as-a-Service (IaaS), Platform-as-a-Service (PaaS) ไปจนถึง Software-as-a-Service (SaaS) ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานวิจัย และลดต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี AWS เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการ 3 ประการ คือ
- ใช้งานได้หลากหลาย: AWS มีฟีเจอร์และเครื่องมือให้เลือกใช้เป็นจำนวนมาก ตอบโจทย์ความต้องการด้านการทำวิจัยได้หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น การทำคลัสเตอร์ Hadoop โดยใช้ EC2, S3 และ EMR เพื่อประมวลผล Big Data Analytics
- ยืดหยุ่นสูง: สามารถปรับแต่งเพิ่มลดทรัพยากรคอมพิวเตอร์ได้อย่างอิสระและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเซิร์ฟเวอร์หรือขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล โดยไม่ต้องเสียเวลาในการติดต่อกับผู้ให้บริการเพื่ออธิบายความต้องการใหม่ ที่สำคัญคือมี Community ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำให้สามารถแบ่งปันประสบการณ์และค้นหาความรู้เพิ่มเติมได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังใช้เวลาฝึกฝนเพื่อเรียนรู้การใช้งานได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
- ประหยัดค่าใช้จ่าย: คิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งานจริง ซึ่งเหมาะกับลักษณะการเริ่มต้นทำงานวิจัยของโครงการที่มีการปรับเพิ่มลดทรัพยากรบ่อย และใช้งานเป็นครั้งคราว ไม่สม่ำเสมอ เมื่อคำนวณ CapEx และ OpEx ในช่วง 3 ปีแรกเทียบกับการจัดซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ใหม่สำหรับเริ่มทำงานวิจัย จะพบว่าการใช้ AWS มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาก
นอกจากนี้ AWS ยังนำเสนอโปรแกรม AWS Educate ซึ่งอนุญาตให้คณาจารย์และนักศึกษาสามารถใช้บริการได้ฟรีภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ทำให้ภาควิชาสามารถนำ AWS มาใช้เป็นสื่อการสอนเทคโนโลยีระบบ Cloud เพื่อให้นิสิตสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเพื่อทำธุรกิจของตนเองระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ รวมไปถึงใช้เพิ่มทักษะให้พร้อมกับการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในอนาคตได้
ทำไมถึงเลือกใช้การสนับสนุนจาก True IDC
เนื่องจาก True IDC มีทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้าน AWS พร้อมให้คำปรึกษามื่อมีข้อสงสัยหรือประสบปัญหาตลอดเวลา ในขณะที่ฝ่ายขายช่วยวางแผนค่าใช้จ่ายโดยนำเสนอแผนการชำระเงินเป็นรอบแล้วทยอยหักตามการใช้งานจริง ในกรณีที่เงินเหลือยังสามารถนำไปทบไว้เพื่อใช้ในรอบบิลถัดไปได้ ส่งผลให้โครงการวิจัยและอาจารย์ผู้สอนในภาควิชาที่นำ AWS มาใช้ในการสอน สามารถใช้บริการ AWS ได้คุ้มค่าและประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด “True IDC เข้ามาให้คำปรึกษาและแนะนำโซลูชันของ AWS ให้กับทางโครงการวิจัยที่ผมร่วมทำอยู่ พร้อมช่วยวางแผนด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ AWS เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด” — ดร. รุจ กล่าว นอกจากนี้ True IDC นำโดยคุณธนรรถ สังข์เกษม หัวหน้าทีมที่ปรึกษาระบบ Cloud ยังร่วมกับภาควิชาเพื่อจัดอบรม Cloud Talk สัญจร (FB: CloudTalk) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีระบบ Cloud และการใช้งาน AWS เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนำความรู้ที่ได้ไปสร้างสรรค์ผลงานหรือใช้เป็นช่องทางต่อยอดการศึกษาได้
“True IDC เข้ามาให้คำปรึกษาและแนะนำโซลูชันของ AWS ให้กับทางโครงการวิจัยที่ผมร่วมทำอยู่ พร้อมช่วยวางแผนด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ AWS เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด” — ดร. รุจ กล่าว
นอกจากนี้ True IDC นำโดยคุณธนรรถ สังข์เกษม หัวหน้าทีมที่ปรึกษาระบบ Cloud ยังร่วมกับภาควิชาเพื่อจัดอบรม Cloud Talk สัญจร (FB: CloudTalk) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีระบบ Cloud และการใช้งาน AWS เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนำความรู้ที่ได้ไปสร้างสรรค์ผลงานหรือใช้เป็นช่องทางต่อยอดการศึกษาได้
สรุปผลลัพธ์การใช้งาน Amazon Web Services
AWS ช่วยเข้ามาจัดสรรการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนทีมนักวิจัยในภาควิชาได้อย่างยอดเยี่ยม ในราคาที่คุ้มค่า ที่สำคัญคือทีมนักวิจัยสามารถบริหารจัดการทุกอย่างได้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถทำงานวิจัยได้รวดเร็วและคล่องตัวขึ้นกว่าเดิม ทั้งยังสามารถทดลองใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้การที่มี True IDC เป็นพันธมิตรช่วยสนับสนุนการดำเนินการให้คำปรึกษาต่างๆ ทำให้ผู้ทำวิจัยสามารถใช้ AWS ได้อย่างมั่นใจ
แผนงานในอนาคต
ภาควิชาเล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีระบบ Cloud ในช่วงที่ประเทศกำลังก้าวเข้าสู่ยุค Digital เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่บริหารจัดการได้ง่าย มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำ และรองรับการขยายอย่างไร้ขีดจำกัดได้ในอนาคต ทำให้ภาควิชาสนับสนุนการนำ AWS ไปใช้ร่วมกับระบบที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่การทำวิจัยสูงสุด นอกจากนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ AWS เพื่อรองรับการทำงานวิจัยของนิสิตภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการเพิ่มการให้ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบCloud เพื่อให้นิสิตในทุกระดับสามารถนำความรู้ไปใช้งานและฝึกฝนทักษะสำหรับเตรียมประกอบอาชีพในอนาคตได้
สุดท้าย ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และ True IDC พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีระบบ Cloud และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศอื่นๆ เพื่อเป็นกำลังให้สังคมไทยพร้อมก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ