องค์กรแบบใดที่ได้ประโยชน์จากดาต้า เซ็นเตอร์
27 พ.ย. 2566 //= substr($strYear,2,2)?>
ในปัจจุบัน ดาต้า เซ็นเตอร์ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างชิ้นสำคัญของธุรกิจหลายอุตสาหกรรมและการตัดสินใจเลือกใช้
ดาต้า เซ็นเตอร์ ควรคำนึงถึงความเหมาะสม เฉพาะทางด้านของธุรกิจ การขยายตัวของธุรกิจ
และความต้องการของธุรกิจ วันนี้เราได้มัดรวมประเภทของธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับการใช้ดาต้า
เซ็นเตอร์มาไว้ให้คุณเแล้ว
องค์กรขนาดใหญ่ (Large
Enterprises)
องค์กรเหล่านี้มีโครงสร้างพื้นฐานไอทีและการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ โดยส่วนมากองค์กรเหล่านี้ต้องรองรับการทำงานของระบบที่มีความซับซ้อนและความต้องการสูง
การเลือกใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ ที่มีความปลอดภัย สามารถรองรับการขยายระบบ
และพร้อมใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการขับเคลื่อนธุรกิจ
ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และร้านค้าออนไลน์ (E-commerce and Online Retail)
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือร้านค้าออนไลน์ยังต้องการโซลูชันด้านดาต้า
เซ็นเตอร์ ที่มีความเชี่ยวชาญ สนับสนุนการเข้าใช้งานเว็บไซต์ การโอนย้ายข้อมูล
การประมวลผลทางธุรกรรม การจัดการข้อมูลลูกค้า รวมถึงความต่อเนื่องของธุรกิจโดยไม่สะดุด
สถาบันการเงิน
(Financial Institutions)
ธุรกิจอุตสาหกรรมสถาบันการเงินไม่ว่าจะเป็น
ธนาคาร บริษัทประกันภัย การมีดาต้า เซ็นเตอร์ที่เหมาะสมและมีความพร้อมใช้งานสูงสุดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจสถาบันการเงินอย่างมาก
โดยเฉพาะการจัดเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและระบบทางการเงินที่ต้องการความเสถียร
ความปลอดภัยเพื่อรักษาความไว้วางใจของลูกค้า รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับทางกฎหมายที่เข้มงวดในการจัดเก็บข้อมูลทางการเงิน
ผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ (Healthcare
Providers)
โรงพยาบาลทุกที่จะต้องมีการเก็บข้อมูลในระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์หรือบันทึกข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยในรูปแบบดิจิทัล ที่เรียกกันว่า ระบบ EHRs ไม่ว่าจะเป็น ประวัติส่วนตัว ข้อมูลการติดต่อของคนไข้ รวมถึงการสร้างภาพทางการแพทย์เข้าถึงข้อมูลสุขภาพและการส่งผ่านข้อมูลด้านประกันสุขภาพ) การใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการดูแลข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ (ISO 27799) ที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อรักษาไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้องสมบูรณ์และความพร้อมใช้เป็นหลักจะช่วยสนับสนุนกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพได้เป็นอย่างดี
หน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ (Government
and Public Sector)
หน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในระดับต่าง ๆ ต้องอาศัยดาต้า เซ็นเตอร์ เพื่อคอยสนับสนุนบริการในระบบดิจิทัลให้มีความพร้อมใช้งาน
อาทิ การจัดเก็บข้อมูลประชากร ข้อมูลด้านรายได้ ภาษี และด้านการเงินอื่น ๆ
ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลด้านการศึกษา เป็นต้น และยังต้องเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง
ผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Service Providers)
ในยุคปัจจุบัน ถือเป็นยุคดิจิทัลที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจที่ให้บริการทางด้านคลาวด์จะต้องอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าที่ใช้บริการ ดังนั้นการใช้ ดาต้า เซ็นเตอร์เป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างพื้นฐานหลักของการเก็บข้อมูล
ความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง
ระบบพลังงานไฟฟ้า สามารถสำรองข้อมูลและกู้ข้อมูลคืนกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น
เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฮาร์ดแวร์ทำงานล้มเหลว แม้แต่การโจมตีทางไซเบอร์ ทำให้ผู้ให้บริการคลาวด์เลือกใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ที่มีมาตรฐานสากลและมีระบบที่ช่วยรองรับการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
ธุรกิจด้านผลิตสื่อและบันเทิง (Media
and Entertainment)
ธุรกิจด้านผลิตสื่อและบันเทิงในส่วนการจัดเก็บข้อมูล
การที่ธุรกิจเลือกใช้บริการดาต้า เซ็นเตอร์เข้ามาเป็นตัวช่วยเป็นส่วนสำคัญในการประกอบธุรกิจ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูล
การประมวลผล หรือการรับส่งข้อมูล มีความหน่วงต่ำ ไม่ว่าจะเป็นเพลง วิดีโอ รวมถึงเกมทั้งในระบบแอนดรอยด์
(Android) และระบบไอโอเอส (iOS)
ที่ให้บริการแก่ลูกค้าทั่วโลก
การวิจัยและการพัฒนา (Research and
Development)
องค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ การจำลอง
หรือข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงรวมถึงความจุในการเก็บข้อมูล
ซึ่งมีความเหมาะสมกับดาต้า เซ็นเตอร์ ทั้งเรื่องของความพร้อมใช้งาน และการรักษาข้อมูลขององค์กรอย่างมีมาตรฐาน
ธุรกิจสตาร์ตอัปหรือองค์กรขนาดเล็ก (Startups and
Small Businesses)
โดยธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่เลือกใช้ บริการรับฝากเซิร์ฟเวอร์ (Colocation Service) หรือ
ผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Providers) อยู่ในการดูแลภายใต้ดาต้า
เซ็นเตอร์ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนในส่วนโครงสร้างพื้นฐานไอทีหรือบำรุงรักษาเพิ่มเติม
ทำให้ลดค่าใช้จ่ายการลงทุนและบุคลากรด้านโครงสร้างระบบพื้นฐานไอที
ธุรกิจผลิตสินค้าและอุตสาหกรรม (Manufacturing and Industrial Companies)
ธุรกิจการผลิตสินค้าอาจมีการใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตสินค้า
ระบบอัตโนมัติ และการตรวจสอบการผลิต
รวมถึงการจัดการเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและคู่ค้าของบริษัทของการผลิตและส่งมอบสินค้า
ตั้งแต่ขั้นตอนของการได้มาซึ่งสินค้าตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง
ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า (supply
chain) และมีการจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สถาบันการศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษา (Education and EdTech)
ดาต้า เซ็นเตอร์มีประโยชน์ต่อสถาบันการศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อช่วยผลักดันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับการจัดการระบบต่าง
ๆ เช่น คอร์สเรียนออนไลน์ (E-Learning) เทคโนโลยี
VR / AR รวมถึง ข้อมูลนักเรียน เป็นต้น
ธุรกิจเกมและอีสปอร์ต (Gaming and Esports)
ธุรกิจเกมและอีสปอร์ตจำเป็นต้องพึ่งพาดาต้า เซ็นเตอร์ สำหรับโฮสต์เซิร์ฟเวอร์เกมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เนื้อหาต่าง ๆ ในโลกของเกม และโครงสร้างพื้นฐานการเล่นเกมมัลติเพลเยอร์ เพื่อรับรองการใช้งานที่มีความพร้อมและหลากหลาย โดยเฉพาะระบบหรือแอปพลิเคชันที่สำคัญ มีความซับซ้อน
ธุรกิจไอโอที (IoT) และ สมาร์ตซิตี (Smart Cities)
ธุรกิจที่พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการควบคุมอุปกรณ์เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
หรือ เอไอ แชตบอต (AI Chatbot) จะต้องอาศัยดาต้า
เซ็นเตอร์ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ระบบต่างๆ การจัดเก็บและประมวลผล
จนไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์
สำนักงานกฎหมายหรือที่ปรึกษากฎหมาย (Legal and Professional Services)
เนื่องจากข้อมูลคดีความทางกฎหมายเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องการการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
ดาต้า
เซ็นเตอร์ถูกออกแบบให้มีมาตรการความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง เพื่อปกป้องข้อมูล
เป็นความลับ ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย
ไม่ว่าจะเป็นการบุกรุกจากภายนอกหรือการโจมตีทางไซเบอร์
ล้วนแต่มีกระบวนการหลายขั้นตอนและเข้มงวด
บริการเว็บโฮสติงและบริการงานไอที (Web Hosting and IT Services)
แน่นอนว่าบริการเว็บโฮสติงและงานบริการไอทีต้องเลือกใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ที่เหมาะสมทั้งในเรื่องความเร็วในการเข้าถึงเว็บไซต์ ความเสถียรของเซิร์ฟเวอร์ ระบบการรักษาความปลอดภัย พร้อมใช้งานที่มีความพร้อมและหลากหลาย ท้ายที่สุดแล้ว ธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมไม่ว่าจะขนาดใดก็ตาม การตัดสินใจในการเลือกใช้ ดาต้า เซ็นเตอร์ ขึ้นอยู่กับการประเมินความต้องการของไอที และข้อมูลเฉพาะด้านของธุรกิจแต่ละประเภท ตลอดจนการพิจารณาความสามารถ ระบบความปลอดภัย ความคุ้มค่า และกฎระเบียบที่มีมาตรฐานสากล รวมถึงสอดคล้องกับมาตรฐานของแต่ละอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานที่รองรับธุรกิจสุขภาพ ธุรกิจการเงิน หรือหน่วยงานของภาครัฐ เป็นต้น
สนใจใช้บริการดาต้า เซ็นเตอร์ มาตรฐานระดับโลกของ True
IDC สามารถติดต่อเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.trueidc.com/th/contact
หรือโทร 02-494-8300