ส่องเทรนด์การลงทุนในด้านไอทีปี 2022 จาก Gartner

09 ก.พ. 2565

ความต้องการให้ตลาดดิจิทัลเติบโตและเฟื่องฟู เป็นปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในเทคโนโลยี แม้ทุกวันนี้ ทั่วโลกจะกำลังเผชิญกับการระบาดของเชื้อรัส COVID–19 สายพันธุ์โอมิครอนก็ตาม Gartner คาดการณ์ว่าการลงทุนด้านไอทีจากทั่วโลกอาจมีมากถึง 4.5 ล้านล้านเหรียญในปี 2022 โดยเพิ่มขึ้น 5.1% จากปี 2021

John-David Lovelock รองประธานฝ่ายวิจัยดีเด่นแห่ง Gartner กล่าวว่า “ปี 2022 เป็นปีที่เราจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับ ‘ผู้บริหารที่ดูแลระบบสารสนเทศภายในองค์กร’ (Chief Information Officer หรือ CIO) เพราะบุคคลเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวงการไอทีระยะยาว ไม่ใช่เพียงแค่ระยะสั้น ๆ เหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป โดย 3 ปัจจัยที่ผลักดันให้เหล่า CIO หันมาพึ่งที่ปรึกษาและผู้ให้บริการ Managed services มากขึ้น เพื่อสานต่อกลยุทธ์เชิงดิจิทัล ได้แก่ ความแตกต่างทางทักษะของพนักงาน เงินเฟ้อในด้านค่าแรง (Wage inflation) และการแข่งขันกันในหมู่พนักงานที่มีความสามารถ” ดังนั้น มูลค่าการลงทุนในภาคการบริการด้านไอที ซึ่งหมายรวมถึงบริการให้คำปรึกษาและบริการ Managed services นั้น มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเป็นอันดับ 2 ในปี 2022 โดยอาจมากถึง 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 7.9% จากปี 2021 (ดังตารางที่ 1) ส่วนการลงทุนในด้านบริการให้คำปรึกษาเชิงธุรกิจและเทคโนโลยี ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น 10% ในปี 2022 อีกด้วย

ตารางที่ 1 คาดการณ์มูลค่าการลงทุนด้านไอทีจากทั่วโลก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)


มูลค่าการลงทุนปี 2021

อัตราการเติบโตปี 2021(%)

มูลค่าการลงทุนปี 2022

อัตราการเติบโตปี 2022(%)

มูลค่าการลงทุนปี 2023

อัตราการเติบโตปี 2023(%)

ระบบดาต้า เซ็นเตอร์
216,337
11.4
226,475
4.7
237,021
4.7
ซอฟต์แวร์ขององค์กร
604,946
14.4
671,732
11.0
751,937
11.9
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
787,417
13.0
813,699
3.3
804,253
-1.2
บริการด้านไอที
1,186,103
10.7
1,279,737
7.9
1,391,742
8.8
บริการด้านการสื่อสาร
1,444,324
3.4
1,462,712
1.3
1,494,167
2.2
มูลค่าการลงทุนด้านไอทีทั้งหมด
4,239,127
9.0
4,454,354
5.1
4,679,119
5.0
ที่มา: Gartner (มกราคม 2022)
นอกจากนี้ Gartner ประเมินว่าภายในปี 2025 องค์กรต่าง ๆ จะต้องใช้บริการที่ปรึกษาจากภายนอกมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เป้าหมายสู่ความเป็นดิจิทัลขององค์กร สวนทางกับปริมาณทรัพยากรและความสามารถที่องค์กรนั้น ๆ มี 
Lovelock ยังกล่าวอีกว่า “ปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้นมากเป็นพิเศษกับองค์กรที่ปรับใช้บริการคลาวด์ เนื่องจากบริการคลาวด์ถือเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายสู่ความเป็นดิจิทัล อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยส่งเสริมการทำงานแบบ Hybrid ด้วยเหตุนี้ องค์กรขนาดใหญ่ส่วนมากจึงต้องใช้บริการที่ปรึกษาจากภายนอกเพื่อพัฒนากลยุทธ์ระบบคลาวด์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า”
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 ภายในตลาดซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันสำหรับองค์กร นับเป็นครั้งแรกที่ตลาดคลาวด์เติบโตแซงหน้าตลาด Non-Cloud โดยหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID–19 และภายในปี 2025 การเติบโตของตลาดคลาวด์มีแนวโน้วจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของตลาด Non-Cloud อีกด้วย โดยอัตราการเติบโตของการลงทุนด้านซอฟต์แวร์ขององค์กรในตลาดคลาวด์อาจสูงถึง 11% ในปี 2022 เนื่องจากหลากหลายองค์กรต่างก็เร่งยกระดับซอฟต์แวร์ของตนเองให้เป็น Software-as-a-Service (SaaS) เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวยิ่งขึ้น
ปรากฎการณ์ดังกล่าวเป็นอีกสิ่งที่ตอกย้ำว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับหลายองค์กรมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ บริการให้คำปรึกษาและบริการ Managed services จึงเป็นที่ต้องการมากขึ้นด้วย True IDC เล็งเห็นถึงความต้องการนี้และพร้อมผลักดันให้ทุกองค์กรให้บรรลุเป้าหมายสู่ความเป็นดิจิทัล เรามีบริการให้คำปรึกษาและดูแลอย่างครบวงจร ตั้งแต่เริ่มย้ายข้อมูลขึ้นระบบคลาวด์ ออกแบบโครงสร้างให้ตรงกับการใช้งานของแต่ละองค์กร ตลอดจนดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ทำให้ลูกค้าองค์มั่นใจได้ว่าธุรกิจจะเติบโตต่อไปบนการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี (Well-Architect) จาก True IDC

ที่มา: Gartner

ก่อนหน้า

ถัดไป